เมนู

อมฤตมธุรสให้ปรากฏควรที่จะสวนาการฟัง เป็นที่จะบังเกิดโสมนัสปรีดา ยถา สูโท ธรรม-
ดาว่าพ่อครัวที่ฉลาดได้ซึ่งมังสังสิ่งเดียว ก็อาจกระทำด้วยเครื่องปรุงอันมีประการต่าง ๆ คือต้ม
แกงคั่วเจียวปิ้งย่าง กระทำต่าง ๆ เป็นราชบริโภคได้ ยถา มีครุวนาอุปมาฉันใด โยมได้ถาม
ปัญหาข้อเดียวเท่านี้ ผู้เป็นเจ้าชักเอาเหตุมาเปรียบเทียบให้สิ้นสงสัย กระทำอมฤตรส
ให้ปรากฏควรซึ่งอันฟัง มีอุปไมยฉันนั้น
สมณทุสสลีลคีหิทุสสีลปัญหา คำรบ 4 จบเพียงนี้

อุทกัสส สัตตชีวปัญหา ที่ 5


ราชา อาห

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ อิทํ อุทกํ อันว่าอุทกังนี้ ใส่หม้อตั้งบนเตาไฟทำไมจึงร้องดังนี้
เล่า เมื่อต้องเพลิงร้อนนั้น กินฺนุโช ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เป็นเหตุไฉนอุทกังนั้นมีชีวิตจิตใจ
กระมัง อุทกังตั้งไฟจึงร้อน หรือสิ่งไรให้มีเสียงเล่า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
อุทกังนั้นจะมิจิตจะเป็นสัตว์มีชีวิตหามิได้ อุทกังนั้นต้องไฟอันร้อนด้วยกำลังไฟร้อนกล้านั้นจึง
ร้องให้เป็นเสียงครางต่าง ๆ ไป นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ติตฺถิยา อันว่าเดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมถือว่าอุทกังเย็นนั้นเป็นสัตว์มีชีวิต
เดียรถีย์ทั้งหลายจะได้บริโภคหามิได้ ถือว่าอุทกังอันร้อนเป็นน้ำตาย เดียรถีย์ทั้งหลายจึงพากัน
บริโภคอุทกังร้อนนั้น ติเตียนซึ่งท่านทั้งหลายว่า เหล่าสมณะศากยบุตรย่อมพากันเบียดเบียน
ซึ่งอินทรีย์แห่งสัตว์ชนิดหนึ่งตราบเท่าสิ้นชีวิต ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจง
อธิบายให้แจ้ง จะได้ทำลายล้างซึ่งถ้อยคำเดียรถีย์ทั้งหลายอันถือมิจฉาทิฐินั้น
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจารว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อุทกังจะ
มีชีวิตหามิได้ อุทกังใช่สัตว์ใช่ชีวิต อุทกังต้องกำลังเพลิงอันร้อน จึงมีเสียงต่าง ๆ ถ้าว่าอุทกัง
เย็นเป็นสัตว์มีชีวิตอยู่แล้ว ก็จะกระทำเสียงต่าง ๆ เปรียบดังอุทกังในสระในบ่อ และอุทกังใน
ท้องธารห้ามละหานเหมือนน้ำทั้งหลายต้องแสงสุริยฉายลมรำพายพัดในคิมหันตฤดู อุททกังใน
สระในบ่อท่อธารห้วยละหานหินสิ้นทั้งนั้น ก็มีแต่ยุบยอบแห้งเหือดไปด้วยแสงสุริโยทัย อุทกัง

นั้นให้เสียต่าง ๆ เหมือนอุทกังที่เขาต้มหรือประการใด นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า อุทกังนั้นจะได้ร้อง
เหมือนอุทกังต้มหามิได้
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อุทกํ ชีเวยฺย ถ้า
อุทกังเย็นนั้นมีชีวิตแล้วแล แดดลมเผาจนแห้งไปกระนี้ก็จะร้องบ้าง นี่สิก็หาร้องได้ไม่เลย จะว่า
อุทกังมีชีวิตอย่างไร มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร จงทรงพระสวนการฟังเหตุอุปมา
ให้อุตริกาภาวะยิ่งขึ้นไป เปรียบดุจชนหุงข้าวแล้วเอาใส่ลงในหม้อ แล้วเอาอุทกังเทลง ก็
เป็นเม็ดพลุ่งขึ้น อุทกังเย็นเป็นสัตว์มีชีวิตเจ็บปวดอะไรจึงเป็นเม็ดพลุ่งขึ้นในหม้อนั้นเล่า อีก
ประการหนึ่ง เมื่อยังไม่เอาหม้อขึ้นตั้งนั้น อุทกังในหม้อนั้นหวั่นไหวร้องขึ้นด้วยเสียงต่าง ๆ หรือ
หามิได้
พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เมื่อหม้อยังไม่ตั้ง อุทกังในหม้อนั้นจะได้
ไหวและมีเสียงหามิได้
พระนาคเสนจึงถามว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เมื่อบุคคลยก
เอาหม้อข้าวขึ้นตั้งบนเตาไฟ อุทกังนั้นเงียบสงัดไม่หวั่นไหวไม่ร้องดอกหรือประการใด
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีตรัสว่า หามิได้ เมื่อบุคคลยกหม้อข้าวขึ้นตั้งบนเตาไฟนั้น
อุทกังในหม้อนั้นไหวพลุ่งหพล่านเป็นระลอกไปรอบในหม้อแล้วเป็นฟองขึ้นมาเบื้องบน
พระนาคเสนจึงมีเถววาจาถามว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
อันว่าอุทกังในหม้อข้าวอันตั้งเหนือเตาไฟนั้น จลาจลหวั่นไหวแซ่ซ้องเป็นระลอกไปรอบหม้อ
แล้วเป็นฟองฟูมขึ้นบนปากหม้อ แล้วกระทำเสียงต่าง ๆ เป็นเหตุไฉน บพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
อุทกังน้ำข้าวนั้นหวั่นไหวเป็นระลอกเป็นฟองร้องด้วยเสียงต่าง ๆ นั้น ด้วยกำลังไฟร้อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า บพิตรพระราชสมภารจงเข้าพระทัยด้วยประการดังนี้
อุทกังจะมีชีวิตหามิได้ จะเป็นสัตว์มีชีวิตก็หามิได้ อุทกังนี้อาศัยร้อนเปลวไฟ จึงกระทำเสียงดัง
ไปมีประการต่าง ๆ บพิตรพระราชสมภารจงสวนาการอุปมาอีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาว่าอุทกัง
บุคคลตักเป็นวาระคราว ๆ ใส่โอ่งอ่างไว้ที่เรือนนั้นมีอยู่หรือ บพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า อาม ภนฺเต อุทกังที่เขาตัก
ตั้งไว้เป็นเรือนเป็นคราว ๆ นั้น มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ดังอาตมา

จะถาม อุทกังนั้นหวั่นไหวเป็นระลอกเป็นฟองร้องต่าง ๆ บ้างหรือหามิได้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า หามิได้ นะพระผู้เป็น
ปากติกํ อุทังกังนั้นเป็นปรกติอยู่
พระนาคเสนผู้ปรีชาฉลาดถามอีกว่า ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สุตปุพฺพํ
จะไม่ได้สวนาการฟังบ้างหรือประการใด มหาสมุทฺเท อุทกํ น้ำในมหาสุมทรทะเลหลวงอันใหญ่
ย่อมหวั่นไหวปั่นป่วนเป็นระลอกคลื่นอยู่ทั้งกลางคืนและกลางวัน ย่อมไหลหลั่งแซ่ซ่านไป ทิสาวิทิสํ
สู่ทิศใหญ่และทิศน้อย เสียงพิลึกกึกก้องอยู่เป็นนิตย์นิรันดรมิได้ขาด บพิตรพระราชสมภารได้เคย
ทรงสวนาการฟังบ้างหรือประการใด
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราชจึงตรัสว่า อาม ภนฺเต พระเจ้าข้า โยมได้ยินอยู่
พระนาคเสนผู้เป็นอรหาธิบดีจึงมีเถรวาจาถามว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภาร อุทกังที่ประดิษฐานลอยอยู่ในอากาศชื่อว่าอากาศคงคานั้น ลมหอบไว้ลอยอยู่
ไกลกันได้ 100 ศอกบ้าง 200 ศอกบ้าง สถิตอยู่ห่าง ๆ กันเหตุไร เหตุว่าอุทกังนั้นไหวพลุ่ง
ขึ้นไปเบื้องบนเป็นวาระ คือเป็นคราวเป็นครั้งเป็นเมื่อ ครั้นอุทกังพลุ่งขึ้นไปเหนืออากาศ
ลมหอบไว้แข็งเป็นก้อนใหญ่ก้อนน้อย ลอยอยู่เป็นหมู่ ๆ สมมติเรียกว่าเป็นเมฆ ครั้นลมบนพัด
ก้อนเมฆนั้นก็กระทบกระทั่งกันแตกระจาย กลายเป็นฝนตกลงมา อันว่าอากาศคงคาซึ่งพลุ่งขึ้น
ไปบนอากาศเป็นคราว ๆ และอุทกังที่บุคคลตักตั้งไว้ในเรือนเป็นคราวนั้น ชื่อว่าวาระอุทกัง
ตกว่าวาระอุทกังดังนี้ ไฉนจึงมิได้ตีฟองนองระลอกไปเหมือนอย่างน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุไฉน
เล่า นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการแก้ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
อันว่าอุทกังอันบุคคลตักตั้งขึ้นไว้นั้นลมไม่พัดได้ จึงมิได้มีระลอกคลื่นฟื้นเป็นฟองคะนองไป อัน
ว่าอุทกังในอากาศคงคา ลมพายุหอบไว้ มิได้พัดเบื้องบนเหมือนสายชลในท้องมหาสมุทร อุทกัง
ในมหาสมุทรตีฟองนองระลอกได้ เพราะอาศัยกระทบกระทั่งลม ลมพัดหนักจึงเป็นคลื่นระลอก
ตีฟองกระทำเสียงก้องพิลึกไปได้
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ฉันใดก็ดี อุทกังที่บุคคลตั้งบนเตาไฟนั้นหวั่นไหว
พลุ่งพล่านเป็นระลอกเป็นฟองร้องเป็นเสียงต่าง ๆ ด้วยเปลวไฟร้อนกระทบกระทั่ง ดุจดังลมอัน
กระทบอุทกังในมหาสมุทรนั้นนะมหาบพิตร อุทกังจะเป็นสัตว์มีชีวิตจิตใจหามิได้ มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ธรรมดาว่าเภรีกลองน้อยกลองใหญ่บุคคล

ขึงขึ้นไว้เป็นหน้าเดียวบ้างสองหน้าบ้าง อย่างนี้มีอยู่หรือ
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการรับว่า อาม ภนฺเต มีอยู่พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนมีเถรวาจาถามอีกว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
เภริโย กลองนั้นครั้นบุคคลขึงขึ้นแล้ว ก็กลับเป็นสัตว์มีชีวิตจิตในกระนั้นหรือประการใดนะ
บพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต ใช่จะมี
ชีวิตจิตใจหามิได้ นะพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรถามว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
กลองนั้นไม่มีชีวิตจิตใจ ทำไมจึงร้องกึกก้องไปได้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า กลองนั้นเขาตี
เข้าด้วยไม้ด้วยมือ จึงดังก้องไป กลองน้อยใหญ่ใจจิตชีวิตจะได้มีหามิได้
พระนาคเสนจึงว่า ยถา มีครุวนาฉันใด นะบพิตรพระราชสมภาร อุทกังอันบุคคลต้มก็
พล่านพลุ่งเป็นฟอง ร้องดังเป็นเสียงน้อยใหญ่ด้วยถูกเปลวไฟ อุทกังจะมีชีวิตจิตใจเป็นสัตว์หา
มิได้ อุปไมยเหมือนกลองกันบุคคลประหารดังก้องเป็นเสียงน้อยใหญ่จะเป็นสัตว์มีชีวิตจิตใจ
นั้นหามิได้ มหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐ ตกว่าเดียรถีย์ทั้งหลายมาถือว่าอุทกังเย็นเป็นสัตว์มีชีวิต อุทกังต้มร้อนแล้วเป็นน้ำตาย
กระนี้หรือ บพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการรับว่า อาม ภนฺเต กระนั้นแหละ
ผู้เป็นเจ้า เดียรถีย์ทั้งหลายถือว่าอุทกังต้มร้อนนั้นเป็นน้ำตาย อุทกังเย็นนั้นเป็นอุทกังมีชีวิต
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ดูรานะบพิตร เดียรถีย์ถือตามวิสัยของตนที่ปฏิบัติผิดเห็น
ผิด อุทกังต้มร้องนั้นซึ่งว่าเป็นน้ำตายกระนั้น อุทกังที่ช้างทั้งหลายทั้งปวงสูบกินด้วยงวงนั้น
อุทกังไหลออกเสียงสนั่นก้อง อุทกังนี้ร้องจะมิเป็นน้ำตายหรือ ด้วยว่าร้องเหมือนน้ำต้มอันร้อน
มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ประการหนึ่งเล่า ธรรมดาว่า วานิชพ่อค้าบรรทุกของลง
นาวาใหญ่ คือ สำเภาและกำปั่นจนเพียบพอการใช้ใบไปในมหาสมุทรอันใหญ่ อุทกังซึ่งเป็นละ
ลอกซัดไปกระทบกระทั่งนาวาก็ให้เสียงร้องก้อง อุทกังนี้ก็ร้องจะมิเป็นน้ำตายหรือบพิตรพระ
ราชสมภาร ประการหนึ่ง มหามัจฉาชาติปลาใหญ่ ติมติมิงฺคลา ชื่อว่าติมติมิลงคละ อพฺภนฺตเร
นิมุคฺคา จมอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร อเนกสตโยชนกาโย มีกายยาวหลายร้อยโยชน์ ย่อมพ่น


อุทกังขึ้นไปบนอากาส อุทกังที่กระทบฟันปลาทั้งหลายนั้น ดังเสียงสนั่นก้องในประเทศ
ท้องมหาสมุทร อุทกังนี้ร้องจะมิเป็นน้ำตายหรือ ด้วยเหตุมีเสียงร้องเหมือนอุทกังที่ต้ม ตกว่าจะ
ถือตามเดียรถีย์นั้นไม่สม ด้วยอุทกังต้มก็ร้อง ที่ไม่ต้มก็ร้อง เหตุฉะนี้จะเชื่อถ้อยฟังคำเดียรถีย์
นั้นเชื่อไม่ได้ ขอบพิตรพระราชสมภารจงเข้าพระทัยด้วยประการฉะนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ก็สิ้นความสงสัย ให้สาธุการดุจนัยดังวิสัชนามา
อุทกัสส สัตตชีวิปัญหา คำรบ 5 จบเพียงนี้

คีหิปัพพชิตานัง ขีณาสวปัญหา ที่ 6


ราชา อาห

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีบรมกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสถาม
ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประเสริฐ ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวไว้กับโยมว่า โย
คีหิ อรหตฺตํ ปตฺโต
คฤหัสถ์ผู้ใดถ้าสำเร็จแก่พระอรหัตแล้ว จะมีคติ 2 ประการ คือให้บรรพชา
เป็นภิกษุเสียในวันสำเร็จพระอรหัตนั้น 1 ถ้าไม่บรรพชาก็จะเข้าพระนิพพานไม่อาจล่วงวันนั้นไปได้
1 นี่แหละโยมจะถาม ที่ว่าท่านเป็นคฤหัสถ์ได้พระอรหัตในวันนั้นก็จะบวชแล แต่ทว่าบางทีจะ
ขัดบาตรและจีวรด้วยหามิได้ทัน บางทีจะขัดพระอุปัชฌาย์อาจารย์หาไม่ทันกาลเพลาวันนั้น
คฤหัสถ์นั้นจะบวชตัวเอาได้หรือจะต้องรอให้พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์อื่นมาบวชให้หรือจะปรินิพ-
พาน เป็นประการใด
พระนาคเสนแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ชื่อว่าท่านผู้เป็น
คฤหัสถ์ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์แล้ว จะบรรพชาเอาเองหาอุปัชฌาย์อาจราย์มิได้ สยํ ปพฺพชนฺโต
เมื่อบรรพชาเอาเองเช่นนั้นไซร้ เถยฺยํ อาปชฺเชยฺย ก็จะถึงซึ่งไถยเพศ ข้อหนึ่งที่ว่าจะคอยพระ
อรหันต์มีฤทธิ์ ถ้าว่าล่วงวันไปก็จะสิ้นอายุลุแก่พระนิพพานสิ้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค-
เสนผู้ปรีชาญาณ ถ้ากระนั้นภูมิพระอรหันต์มิร้อนนักหรือ ผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร พระอรหัตจะร้อน
หามิได้ ภูมิคฤหัสถ์ต่ำไม่ควรที่จะทรงภูมิพระอรหัตอันบริสุทธิ์ อนึ่งโสด เปรียบเหมือนโภชนะ
อายุปาลกํ อันจะรักษาอายุสัตว์ ชีวิตรกฺขกํ เป็นของเลี้ยงชีวิต เมื่อเตโชธาตุในกายสัตว์สำหรับที่